soundsystem (ระบบเสียง)
วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556
ตู้ nexo 18"
เอามาฝากกันสำหรับตู้ลำโพงยี่ห้อ nexo 18" เป็นลำโพงตู้เบสอีกแบบที่คุณภาพเสียงจากต่างประเทศคงคุ้นกันดี สำหรับคนที่เคยไปดูคอนเสิร์ท Bodyslam live in ครามเดี๋ยวนี้ประเทศเราก็มีไช้เหมือนกันน่าจะเป็นของบริษัท Media vision อยู่แถวๆนนธบุรีมั่ง และก็อีกหลายๆบริษัทที่เขารับจักงานพวกคอนเสิร์ท เรื่องของราคาโครตแพงชิบหายแค่ตู้ขนาน 12"ก็ประมาณ ว่าเลขหกหลักนู้นน่ะ
การต่อลำโพงในระบบเสียง PA
การต่อลำโพงในระบบเสียง PA
โดยทั่วไปแล้วการต่อลำโพงในระบบเสียง
PA ที่พบเห็นกันมีอยู่ 2 ระบบคือ ระบบเสียงแบบเน้นเฉพาะที่ (sound-rein
fore cement system) และระบบเสียงแบบกระจายตามจุด (sound
distribution systems) โดยในระบบเสียงแบบเน้นเฉพาะที่ สัญญาณจากแหล่งกำเนิดจะผ่านการขยายจากเครื่องขยายเสียงเพื่อให้มีกำลังมากพอที่จะขับเสียงออกลำโพงสู่ผู้ฟังในห้องขนาดใหญ่
ๆ เพียงห้องเดียว
แต่ในระบบเสียงแบบกระจายตามจุดนั้นจะต้องส่องเสียงผ่านลำโพงเป็นจำนวนมากสู่ห้องฟังจำนวนหลาย
ๆ ห้องพร้อมกัน
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดของ
2 ระบบนี้ก็คือ ระยะของการเดินสายจากเครื่องขยายเสียงสู่ลำโพง
ในระบบเสียงแบบเน้นเฉพาะที่ลำโพงจะถูกวางอยู่ใกล้ ๆ กับเครื่องขยายเสียง
ระยะการเดินสายก็ไม่ยาวมาก
ซึ่งแตกต่างกับระบบเสียงแบบกระจายตามจุดที่ต้องเดินสายเป็นระยะทางไกล ๆ
เพื่อที่จะกระจายเสียงให้ครอบคลุมออกไปสู่ลำโพงทุกตัวในแต่ละพื้นที่
แต่การเดินสายเป็นระยะไกล
ๆ จะมีปัญหาในเรื่องของกำลังสูญเสียในสาย
อันเนื่องมาจากความต้านทางของสายที่เพิ่มขึ้นตามความยาว
การแก้ไขนั้นสามารถทำได้โดยการเพิ่มแรงดันตอนส่งออกให้สูง
แล้วลดแรงดันที่ปลายทางให้เหมาะกับการใช้งานเพื่อที่จะลดกระแสในสายให้น้อยลง
การสูญเสียในสายก็ลดลงไปด้วย วิธีนี้เรียกว่า ระบบแรงดันคงที่ (constant
voltage line) ปกติจะมีให้เลือกใช้หลายระดับ แล้วแต่การใช้งาน
ถ้าสายลำโพงต้องเดินเป็นระยะไกลมากก็ต้องใช้เอาต์พุตที่ระดับแรงดันสูง เช่น 70
โวลต์, 100 โวลต์หรือสูงกว่า
แต่ถ้าระยะทางไม่ไกลมากนักก็ใช้ที่ระดับ 25 โวลต์ เป็นต้น
ระบบแรงดันคงที่นี้สามารถต่อได้โดยการใช้แมตชิ่งทรานฟอร์เมอร์เข้ามาช่วย
โดยการต่อที่ปลายสายก่อนที่จะเข้าสู่ลำโพง
ซึ่งในการที่จะนำเอาไปต่อใช้งานตามจุดต่าง ๆ นั้นสามารถที่จะหาขนาดของแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ได้ตามกำลังของการใช้งานแต่ละจุด
ลักษณะการต่อใช้งานของลำโพงขนาด 16 โอห์ม 50 วัตต์
เข้ากับแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ตัวนี้ แสดงดังรูปที่ 1
รูปที่ 1
การต่อลำโพงเข้ากับแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์
การต่อใช้งานของแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์จะต้องคำนึงถึงขีดจำกัดของกำลังวัตต์ที่ตัวมันจะทนได้
เพราะเวลาใช้งานนั้น ถ้าเราต่อลำโพงพร้อมกันหลาย ๆ ตัว ดังนั้น
การาต่อลำโพงนั้นจะต้องคำนวณดูว่าต่อรวมเข้าไปหลาย ๆ ตัวแล้วผลรวมของกำลังวัตต์ที่ได้นั้นจะต้องไม่ไปทำให้เครื่องขยายเสียงกับแมตชิ่งทานสฟอร์เมอร์ทำงานหนักเกินไป
วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556
เทคนิคการลดเสียงหอน
ระบบเสียงสำหรับการแสดงและเทคนิคการลดเสียงหอน
เมื่อพูดถึงระบบในโรงละคร ห้องประชุม
ตลอดจนระบบเสียงที่ใช้ในการแสดงดนตรีหลายคนอาจจะคุ้นเคยและทราบดีว่ามันเป็น
ระบบที่ใช้เครื่องขยายตลอดจนอุปกรณ์ทางเสียงที่มีคุณภาพและราคาอยู่ในขั้น มืออาชีพ
(ดีและแพง)
แต่ยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่คิดว่าจะใช้เครื่องขยายเสียงที่เปิดฟังตามบ้าน
กับระบบเสียงดังกล่าวนี้ได้ (ลองใช้ดูหลายราย) เครื่องขยายเสียงที่ใช้ฟังตามบ้าน
ตามห้องนั้นความคงทนตลอดจนกำลังขับ (output power) ไม่เหมาะสมกับระบบเสียงใหญ่
ๆ ที่มีบริเวณกว้าง ๆ นี่เป็นเพียงความแตกต่างทางด้านอุปกรณ์เท่านั้น
มันยังมีข้อแตกต่างอีกมากมายระหว่างระบบเสียงภายในบ้าน(domerticsystem)กับระบบเสียงสำหรับการแสดง (sound reinforcement system)
ระบบเสียงสำหรับการแสดงที่เราจะกล่าวถึงนี้แยกเป็นส่วนย่อยอีกระบบหนึ่งคือ
ระบบกระจายเสียงในที่สาธารณะ (Public Address) ซึ่งเรามักจะคุ้นเคยกับชื่อย่อของมันที่ว่า
ระบบพีเอ (P.A. system) ระบบพีเอเป็นระบบเสียงที่
เน้นหนักด้านการกระจายเสียงพูดเช่น ในการอภิปารยปาฐกถาการหาเสียงเป็นต้น
ส่วนระบบเสียงสำหรับการแสดจะมีจุดมุ่งหมายในการกระจายเสียงทั้งเสียงพูดและ
เสียงพูด เสียงร้องเพลงและเสียงดนตรีควบคู่ไปด้วย
ดังนั้นระบบเสียงสำหรับการแสดงจะมีความยุ่งยากและละเอียดอ่อนมากกว่าระบบพี
เออย่างไรก็ตามเราสามารถใช้หลักการเดียวกันกับทั้งสองระบบได้
ระบบเสียงทั้งสองนี้มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ผู้ชมคนดูจะอยู่ในบริเวณเดียวกับผู้แสดง
สภาพเช่นนี้เราถือว่าผู้ชมและผู้แสดงอยู่ในสภาพธรรมชาติของเสียงแบบเดียวกัน เช่น
ถ้าอยู่ในห้องประชุมทั้งคนดูและคนแสดงจะอยู่ในสภาพเสียงก้องเสียงสะท้องแบบ
เดียวกัน ถ้าอยู่ในสนามหญ้าก็จะพบปัญหาเดียวกัน ถ้าอยู่ในสนามหญ้าก็จะพบปัญหาเสียงรบกวนจากลมและอื่นๆที่ใกล้เคียงกัน
จะเห็นว่ามันแตกต่างจากการเปิดเครื่องรับ (receiver) ฟัง
รายการจากวิทยุหรือฟังเพลงจากเครื่องเล่นเทปเพราะว่าสัญญาณต่าง ๆ
เหล่านี้มาจากที่อื่น
หรือเป็นสัญญาณที่ถูกบันทึกไว้โดยในขณะบันทึกนั้นสภาพธรรมชาติของเสียงใน ห้องบันทึกกับห้องที่เรานั่งฟังนั้นแตกต่างกัน
ระบบพีเอแบบง่าย ๆ และเป็นพื้นฐานที่สุด
เป็นระบบพีเอที่ง่ายและพื้นฐานที่สุด
ถึงแม้ว่าจะใช้ไมโครโฟนหลายตัวแต่ใช้เฉพาะเสียงพูดเรายังถือว่าเป็นระบบพีเอเช่นกัน
ส่วนในรูปที่ 2 เป็นระบบเสียงสำหรับการแสดง จะเห็นว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ เริ่มมากขึ้น
โดยเฉพาะไมโครโฟนซึ่งต้องเลือกใช้กับเครื่องดนตรีเฉพาะแบบ เครื่องดนตรีต่าง ๆ
เหล่านี้มีทั้งแบบที่ใช้ไฟฟ้าและไม่ใช้ไฟฟ้า
สัญญาณจากเครื่องดนตรีเหล่านี้จะนำเข้าสู่วงจรมิกเซอร์ อีควอไลเซอร์และอื่นๆ
แล้วนำเข้าสู่เครื่องขยายเสียงเพื่อนำออกกระจายเสียงยงคนฟัง
เราจะไม่ใช้เครื่องขยายของเครื่องดนตรีชิ้นนั้น (ถ้าเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ไฟฟ้า)
กระจายเสียงไปยังคนดูโดยตรงแต่มันยังคงทำหน้าที่ขยายเสียงจากเครื่องดนตรีเพื่อให้ผู้แสดงเองได้ยินเท่านั้น
ระบบเสียงสำหรับการแสดง
เราจะพบว่ามีเครื่องขยายอีกชุดที่ใช้เป็นตัวขับลำโพงมอนิเตอร์
เพื่อที่จะให้ผู้แสดงเองได้ยินระดับความดังของเสียงดนตรีหรือเสียงร้องที่
ตัวเองกำลังแสดงอยู่ว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับเครื่องดนตรีชิ้นอื่น ๆ หรือเปล่า
ประโยชน์ของการใช้มอนิเตอร์นี้จะทำให้นักดนตรีสามารถแสดงได้อย่างมั่นใจไม่
พวงว่าขณะนั้น ๆ เสียงดนตรีที่ไปยังคนดูมีคุณภาพเป็นอย่างไรบ้าง
ถ้าผิดพลาดก็จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที ในสมัยแรก ๆ นั้นการแสดงดนตรีมักจะไม่มีระบบมอนิเตอร์
ทำให้เสียงเพลงที่ได้ห้วน ๆ หรือแย่งกันตะเบ็งเสียง
ประโยชน์อีกข้อของการใช้ระบบมอนิเตอร์ก็คือ จะช่วยให้การบันทึกเสียงของการแสดงเป็นไปได้ง่ายเข้า
โดยต่อพ่วงจากมอนิเตอร์เลย
จุด หมายหรือเป้าหมายของระบบเสียงสำหรับการแสดง (รวมระบบพีเอด้วย)
นั้นถ้าจะพูดก็พูดได้ง่ายมาก แต่จะทำให้ได้นั้นจะยากเป็นหลายเท่าทวีคูณ
เป้าหมายใหญ่ ๆ ก็คือการกระจายเสียงร้องเสียงดนตรีไปยังคนดูด้วยระดับความดัง
ความสมจริงที่เหมาะสมไม่ดังหรือค่อยเกินไปในทุกๆบริเวณและทุกเวลาที่เราต้อง
การเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวเราต้องเผชิญกับปัญหาด้านต่างๆ
มากมายดังจะได้กล่าวในตอนต่อไป
ก่อนอื่นเรามาพิจารณาถึงส่วนประกอบสำคัญของระบบเสียงที่ว่านี้ส่วนประกอบที่
สำคัญแยกออกเป็น 3 ส่วนคือ ทางด้านผู้แสดง (performers) อุปกรณ์เครื่องเสียง
(equipment) สภาพธรรมชาติของเสียงในบริเวณนั้น (environment
and acoustics)
ตอนนี้บางท่านก็คงจะเข้าใจถึงระบบเสียงที่แท้จริงแล้วว่ามันไม่ใข่มีเฉพาะอุปกรณ์เครื่องเสียงเท่านั้นที่เป็นหัวใจของระบบเสียง
แต่ยังมีสิ่งที่ควบคู่มาอีก 2 อย่าง
ดังนั้นการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ดีเยี่ยมอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้ระบบเสียงดีเท่าที่ต้องการได้
ปัญหาต่าง ๆ ที่มักจะพบบ่อยที่สุดในระบบเสียง พร้อมด้วยการแก้ไขปัญหาเหล่านี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)